ข่าวประชาสัมพันธ์
มาตรการความปลอดภัยในการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ![](img/new_ico.gif)
- 5 กุมภาพันธ์ 2568
- 7 ครั้ง
![](news/img/news_1_539.jpg)
ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ ฝุ่นละออง PM 2.5 เป็นปัญหามลพิษอากาศที่สำคัญของประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่องหลายปี
ซึ่งมีสาเหตุเกิดจากการจราจร (ไอเสียรถยนต์) การเผาป่า การเผาเศษพืชผลทางการเกษตร
โรงงานอุตสาหกรรม หมอกควันข้ามแดน ปัจจัยทางสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ
ภาวะความกดอากาศสูงที่ทําให้เกิดภาวะอากาศปิด นอกจากนี้ยังเกิดจากการรวมตัวของก๊าซอื่นๆ
ในบรรยากาศ โดยเฉพาะซัลเฟอร์ไดออกไซต์ (SO2) และออกไซต์ของไนโตรเจน
(NOx) รวมท้ังสารพิษอื่น ๆ
ที่ล้วนเป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ เช่น สารปรอท (Hg), แคดเมียม
(Cd), อาร์เซนิก (As) หรือโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน
(PAHs)
ซึ่งผลกระทบของฝุ่น PM 2.5 จะเพิ่มระดับความรุนแรงต่อสุขภาพร่างกายของเรา
จากการสะสมของฝุ่นละอองภายในปอดเป็นระยะเวลายาวนาน
โดยระดับของอาการจะรุนแรงแตกต่างกัน
ฝุ่น PM 2.5 เป็นภัยที่ไม่ควรมองข้าม เพราะส่งผลกระทบต่อสุขภาพในหลายมิติ ดังนั้น การดูแลสุขภาพในช่วงที่มีฝุ่น PM 2.5 สูง ไม่ได้หยุดอยู่แค่การสวมหน้ากากหรือใช้เครื่องฟอกอากาศเท่านั้น แต่ต้องเริ่มจากการดูแลตัวเองจากภายในสู่ภายนอก ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ผ่านการรับประทานอาหารที่ดี ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ดื่มน้ำมาก ๆ และหมั่นตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ สามารถลดความเสี่ยงได้