อาการไข้หวัดใหญ่ในผู้ใหญ่ ที่ควรรีบพบแพทย์
1. เจ็บหน้าอก 2. หายใจถี่ 3. เวียนศีรษะ 4. ชัก 5. กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง 6. โรคประจำตัวกำเริบหรือทรุดตัว
สาเหตุของโรคไข้หวัดใหญ่ คนทั่วไปอาจสัมผัสเชื้อไวรัสจากละอองฝอยในอากาศ เมื่อผู้ป่วยไอ จาม หรือพูดคุย คนทั่วไปอาจสูดรับเชื้อโรคทางลมหายใจหรือสัมผัสเชื้อที่ติดอยู่บนพื้นผิวของวัตถุ เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือคีย์บอร์ด ผู้ป่วยจะสามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 1 วันก่อนแสดงอาการ และยังสามารถแพร่เชื้อได้ต่อไปอีก 5 วันหลังแสดงอาการ ผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันบกพร่องจะสามารถแพร่เชื้อได้นานกว่า มีเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา หากได้รับวัคซีนหรือป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่มาก่อน ร่างกายมักมีภูมิต้านทานโรค หากเชื้อไวรัสตัวใหม่นั้นมีความใกล้เคียงกับเชื้อตัวเก่าที่เคยเป็น ร่างกายจะมีแอนติบอดีป้องกันหรือลดความรุนแรงของโรคได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไประดับแอนติบอดีในร่างกายจะลดลง หากสัมผัสกับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่ร่างกายไม่เคยรู้จักมาก่อน แอนติบอดีที่มีอยู่เดิมจะไม่สามารถสู้กับและป้องกันการติดเชื้อได้
ปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดโรคไข้หวัดใหญ่
1. เด็กอายุ 6 เดือนถึง 5 ปี และผู้ใหญ่ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป 2. อาศัยหรือทำงานในที่แออัด มีคนอยู่เป็นจำนวนมาก
3. ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เนื่องจากการรักษาโรคมะเร็ง โรคมะเร็งเม็ดเลือด โรคเอชไอวี / เอดส์ การปลูกถ่ายอวัยวะ การใช้สเตียรอยด์หรือยากดภูมิคุ้มกันเป็นเวลานาน
4. มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคตับ โรคเลือด โรคระบบประสาท กระบวนการทำงานทางชีวเคมีผิดปกติ ปัญหาระบบทางเดินหายใจ
5. การใช้แอสไพรินในระยะยาวในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 19 ปี อาจทำให้เป็นโรคเรย์ (Reye?s disease) เป็นโรคที่มี ความผิดปกติของตับร่วมกับสมอง ซึ่งเกิดขึ้นได้จากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่
6. หญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะระหว่างไตรมาสที่ 2 หรือ 3 7. โรคอ้วน
การป้องกันการแพร่เชื้อไข้หวัดใหญ่เนื่องจากวัคซีนไข้หวัดใหญ่ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 100% สุขอนามัยที่ดีสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ล้างมือเป็นประจําด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ ไม่สัมผัสตา จมูก และปาก เมื่อจะจามหรือไอ ควรจามหรือไอใส่ข้อศอกหรือกระดาษทิชชู่ และล้างมือทุกครั้ง ทำความสะอาดโทรศัพท์หรือพื้นผิวของสิ่งของที่สัมผัสบ่อย หลีกเลี่ยงพื้นที่แออัด โดยเฉพาะในช่วงที่ไข้หวัดใหญ่ระบาดหลีกเลี่ยง ไม่ใกล้ชิดผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่
การรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ การพักผ่อนและดื่มน้ำมาก ๆ ช่วยบรรเทาอาการไข้หวัดใหญ่ หากผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนหรือการติดเชื้อร้ายแรง อาจต้องให้ยาต้านไวรัส การใช้ยาต้านไวรัสอาจมีผลข้างเคียงให้รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน การรับประทานยาพร้อมอาหารสามารถช่วยลดอาการดังกล่าวได้
การดูแลตัวเองที่บ้านดื่มน้ำมาก ๆ เช่น น้ำผลไม้ น้ำเปล่า หรือซุปอุ่น ๆ เพื่อให้ร่างกายไม่ขาดน้ำ พักผ่อนและนอนหลับเพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อสู้กับเชื้อไวรัสได้ดีขึ้น รับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการไข้หวัดใหญ่ เช่น อาการปวดหัวและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไม่ควรใช้แอสไพรินในเด็กหรือวัยรุ่น เนื่องจากความเสี่ยงของโรคเรย์ (Reye?s disease) พักผ่อนอยู่บ้านจนกว่าจะหายเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในครอบครัวและชุมชน งดพบปะผู้อื่นเมื่อป่วย ล้างมือบ่อย ๆ หากมีความจำเป็นต้องออกจากบ้านหรือไปโรงพยาบาลให้สวมหน้ากากอนามัยเสมอ
เครดิต ความรู้ ขอขอบคุณ บทความโดย พญ.ประภาพร พิมพ์พิไล อายุรกรรมทั่วไป